Skip to content
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  • หน้าหลัก
  • โครงการ I-Classroom
  • โครงการ STEM
  • เอกสารโครงการ
  • สื่อประกอบการอบรม
  • ติดต่อโครงการ
โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
  • หน้าหลัก
  • โครงการ I-Classroom
  • โครงการ STEM
  • เอกสารโครงการ
  • สื่อประกอบการอบรม
  • ติดต่อโครงการ
1. หลักการและเหตุผล​
2. วัตถุประสงค์​
3. กลุ่มเป้าหมาย​
4. เป้าหมายโครงการ
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับประโยชน์
7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8. ระยะเวลา/ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. หลักการและเหตุผล​

1. หลักการและเหตุผล

จากเป้าหมายการพัฒนาทุนมนุษย์สู่ยุคดิจิทัลของยุทธศาสตร์การปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนดให้ประชาชนทุกคน มีความรู้ ความเข้าใจความตระหนัก และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เกิดประโยชน์และสร้างสรรค์ (Digital Literacy) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมการขับเคลื่อนระยะเร่งด่วน 1 ปี อันได้แก่ การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต การบูรณาการแพลตฟอร์มการศึกษาออนไลน์ผ่านระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด (MOOC : Massive Open Online Courses) ทั้งในและนอกระบบการศึกษา การสร้างระบบ Mobile Learning ทั้งนี้เพื่อการปรับเปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นดิจิทัสไทยแลนด์ สามารถสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม ข้อมูส ทุนมนุษย์ และทรัพยากรอื่นใดเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมระยะที่ 1 เรียกว่า Digital Foundation คือ ประเทศไทยลงทุนและสร้างฐานรากในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลด้วยการพัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนวัยเรียน วัยทำงานทุกสาขาอาชีพ ทั้งในบุคลากรภาครัฐ และภาคเอกชนให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์และใช้ทคโนโลยีดิจิทัลอย่างชาญฉลาดในการเรียน การดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ เพื่อนำไปสู่การสร้างและจ้างงานที่มีคุณค่าสูง ในยุคเศรษฐกิจและสังคมที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินโครงการนำร่องการพัฒนาต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในช่วงปลายปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 โดยการจัดหาคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเพื่อการเรียนการสอนผ่านทางระบบเครือข่ายแบบไร้สายให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนนำร่อง จำนวน 20 โรงเรียน จาก 4 ภูมิภาค ๆ ละ 5 โรงเรียน ๆ ละ 1 ห้องเรียน ปีงบประมาณพ.ศ. 2556 ได้มีการขยายผลโครงการฯ เพิ่มจำนวนโรงเรียนและห้องเรียน อีก 4 ภูมิภาค ๆ ละ 6 โรงเรียนรวมจำนวน 24 โรงเรียน และต่อเนื่องในปีงบประมาณ 2559 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดหาห้องเรียนต้นแบบหลักสูตรการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯ จำนวน 50 โรงเรียนผลจากการดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาพบว่า เทคโนโลยีช่วยกระตุ้นให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ มีสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สอดคล้องกับการพัฒนาทักษะคุณภาพผู้เรียน จากผลการดำเนินโครงการที่กล่าวมาแล้วนั้น เพื่อให้โครงการมีความต่อเนื่อง ยั่งยืน และสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ที่ให้หน่วยงานในสังกัดมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาซึ่งกระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ได้มีการแถลงนโยบายการจัดการศึกษา 12 ข้อ ซึ่งในข้อ 3 กล่าวว่า”การปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยดิจิหัลผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยดิจิทัลแห่งชาติ (NDLP) และการส่งเสริมการฝึกทักษะดิจิทัลในชีวิตประจำวัน” ดังนั้นในปีงบประมาณ 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เห็นควรดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล กิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ การวางพื้นฐานระบบรองรับการเรียนรู้โดยใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม โดยมีการจัดเตรียมสภาพแวดล้อมของห้องเรียนสำหรับจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) การจัดหาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัส อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีที่จำเป็น และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของโรงเรียน ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครู และนักเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจให้สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องไปใช้ประโยชน์ และเพิ่มคุณค่าให้เกิดขึ้น ส่งเสริมศักยภาพด้านการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนและ การขับเคลื่อนนโยบายกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ได้เป็นอย่างดี

2. วัตถุประสงค์​

2. วัตถุประสงค์​

2.1 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมห้องเรียนการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนโลยีดิจิทัล (l-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.2 เพื่อพัฒนาต้นแบบหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) และสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2.3 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
3. กลุ่มเป้าหมาย​

3. กลุ่มเป้าหมาย​

3.1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 77 โรงเรียน

3.2 ผู้บริหารโรงเรียน และศึกษานิเทศก็ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมโครงการ

3.3 ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๆ ละ 1 คน ในโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ รวมทั้งสิ้น 385 คน

3.4 บุคลากรผู้ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 76 คน

4. เป้าหมายโครงการ

4. เป้าหมายโครงการ

4.1 เป้าหมายเชิงผลผลิต (Output)

– พัฒนาและส่งเสริมห้องเรียนการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom)

– พัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (1-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

– พัฒนาครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการฯ

– พัฒนาผู้ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ

– พัฒนาเว็บไชต์เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวบรวมผลงาน เป็นคลังความรู้เผยแพร่ผลงานของโครงการฯ และแบ่งปันข้อมูลผ่านชุมชนออนไลน์

– รายงานการศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการบริหารจัดการการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

4.2 เป้าหมายเชิงผลลัพธ์ (Outcome)

– ผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ และศึกษานิเทศก์ ได้รับการส่งเสริมสร้างความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนยึดิจิทัล

– ครู และนักเรียน มีเครื่องมือ (Tool Applications) เนื้อหา (Content Applications) สำหรับการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

– มีศูนย์ติดต่อประสานงาน ให้คำปรึกษา และแก้ปัญหาของการใช้ห้องเรียนต้นแบบที่สามารถติดต่อได้ตลอดเวลาทำการ

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

– ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ มีความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนวิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

– ครู นักเรียน มีตัวอย่างหลักสูตรสำหรับการจัดเรียนการสอนวิถีใหม่ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิหัลทั้งในสถานการณ์ปกติ และสามารถปรับเปลี่ยนตามบริบท เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับประโยชน์

6. กลุ่มเป้าหมาย/ผู้ที่ได้รับประโยชน์

ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู ผู้ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และนักเรียน

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 มีห้องเรียนต้นแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

7.2 มีต้นแบบหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

7.3 ได้รูปแบบการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (I-Classroom) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำหรับเป็นแนวทางการดำเนินงานของโรงเรียน

7.4 ได้รายงานผลการศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เพื่อเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

8. ระยะเวลา/ผู้รับผิดชอบโครงการ

8. ระยะเวลา/ผู้รับผิดชอบโครงการ

ธันวาคม 2564 – ธันวาคม 2565

สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Copyright © 2023 โครงการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน